จัดว่าเป็น System
Input(ปัจจัยนำเข้า)
ฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตกของฝนและมีการเรียกชื่อแตกต่างกันดังนี้
1. อ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ปลูกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม
โดยอาศัยความชื้นที่เก็บไว้ในดินตลอดช่วงฤดูฝน
เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ในช่วงที่ไม่มีฝนตกจนกระทั่งต้นปี ถัดไปจะมีฝนตกบ้าง
ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทรายหรือดินทราย
2. อ้อยชลประทาน อ้อยน้ำราด หรืออ้อยน้ำเสริม
ปลูกระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
วิธีการปลูกอ้อยน้ำราดเป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากการให้น้ำเสริม
เพื่อช่วยให้อ้อยสามารถงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ
สภาพดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว มักอยู่ในเขตชลประทาน
หรือมีแหล่งน้ำพอสมควร
3. อ้อยต้นฝนเร็ว ปลูกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากฝนช่วงแรกที่ตก
เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ ดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว
โดยต้องมีการเตรียมดินและชักร่องรอฝน
ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการงอกของอ้อยสังเกตได้จากร่องอ้อยจะมีน้ำขัง
4. อ้อยต้นฝน ปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
โดยอาศัยน้ำฝนในการงอกและเจริญเติบโต ดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว
วิธีเก็บเกี่ยว
1.เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือนหลังปลูก
โดยสังเกตจากยอดอ้อยจะมีข้อถี่กว่าปกติ ใบสีเขียวซีด มีค่าบริกซ์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
22 องศาบริกซ์ โดยอ้อยทุกพันธุ์ควรที่จะตัดอ้อยที่ปลูกปลายฝนก่อน ตามด้วยอ้อยตอ
และอ้อยต้นฝน ยกเว้นพันธุ์ เค 88-92 ที่ช่วงเวลาการตัดที่เหมาะสมคือ เดือน
กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม
2.มีการวางแผนการตัดอ้อยและจำนวนของคนตัดอ้อย
ให้สัมพันธ์กับลำดับการตัดอ้อยที่ได้รับจากทางโรงงาน
จะทำให้ไม่สูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย
เนื่องจากการตัดอ้อยค้างไร่ไว้เป็นเวลานาน
3.ควรตัดอ้อยสด ไม่ควรเผาอ้อยก่อนตัด เนื่องจากอ้อยไฟไหม้
จะมีการสูญเสียน้ำหนัก และรายได้ มากกว่าอ้อยตัดสด
นอกจากนั้นอ้อยไฟไหม้จะถูกหักราคาตันละ 20 บาท อ้อยไฟไหม้ยอดยาวตัดราคาตันละ 40
บาท เนื่องจากอ้อยไฟไหม้จะทำให้การทำน้ำตาลยากขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้การหีบอ้อยได้ช้าลง
4.ควรมีการควบคุมให้ตัดอ้อยชิดดิน ซึ่งจะทำให้ลดการสูญเสียของน้ำหนักอ้อยที่เหลือค้างไร่ได้
0.3 - 2 ตัน/ไร่ และทำให้สูญเสียรายได้ 186 - 1,240 บาท/ไร่
5.ควรตัดอ้อยให้สะอาดและไม่ควรนำสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น ยอดอ้อย กาบ และใบอ้อย
เข้า
โรงงานเพราะจะทำให้ค่าซีซีเอส และรายได้ลดลง นอกจากนั้นอ้อยยอดยาวจะถูกตัดราคา
ตันละ
20 บาท
2.Process(กระบวนการประมวลผล)
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย
(Juice Extraction) :
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ
(4-5 ชุด)
และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย
จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ
เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.การทำความสะอาด
หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification) :
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส
เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล
เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.การต้ม (Evaporation)
:
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม
(Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70
%) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.การเคี่ยว (Crystallization)
:
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ
(Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล
และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
(Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก
กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
3.Output(แสดงผลลัพธ์)
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว
และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.การปั่นละลาย (Affinated
Centrifugaling) :
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน
หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses)
น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง
หรือกากน้ำตาลออก
2.การทำความสะอาด
และฟอกสี (Clarification) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น
และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก
(ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน
(Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก
และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion
Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.การเคี่ยว (Crystallization)
:
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ
(Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
(Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล
โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.การอบ (Drying)
:
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์
และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก
แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย